ใหญ่รถเช่าน่านราคาถูก โทร. 091-0671849 Line ID : 0856539657
การเดินทางไปเสาดินนาน้อยและคอกเสือ
ถนนยันตรกิจโกศล ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ไปถึงอำเภอเวียงสา เลี้ยวขวาไปตามถนนเจ้าฟ้า ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1026 จากอำเภอเวียงสาไป อำเภอนาน้อย มีทางแยกไปตามเส้นทางหมายเลข 1083 ขับเข้ามาประมาณ 10 กว่า กม. จะพบป้ายให้ไปทาง เสาดินนาน้อย เลี้ยวขวามาอีกประมาณ 10 กม. ก็จะถึงเสาดินนาน้อย
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยว จาก paiduaykan.com
วัดบ่อแก้ว ตั้งอยู่ที่บ้านบ่อแก้ว ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน ภายในวัดมีพระธาตุบ่อแก้ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอนาหมื่น ความโดดเด่น คือ เป็นวัดที่สร้างด้วยศิลปะแบบล้านนา พระอุโบถมีสีขาวทั้งหลังงดงามวิจิตรด้วยลวดลายแกะสลักปูนปั้นประดับกระจกสีต่างๆ ด้านหลังวัดสามารถมองเห็นวิวของทุ่งนาเขียวขจี
การเดินทาง
จากตัวเมืองน่านใช้ทางหลวงหมายเลข 101 (ถนนยันตรกิจโกศล) ไปเข้าทางหลวงหมายเลข 1026 ที่อำเภอเวียงสา ผ่านอำเภอนาน้อย เข้าสู่อำเภอนาหมื่น ระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร จากน่าน
ภายในวัดยังประดิษฐานเจดีย์ช้างค้ำ ทรงลังกา สูงตระหง่านมีรูปปั้นรูปช้างครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ ลักษณะเหมือนฐานรองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวมทั้งหมด 24 เชือก เป็นศิลปะที่น่านรับผ่านอาณาจักรสุโขทัย มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์
ขอบคุณแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยวจาก travel.trueid.net
วัดภูมินทร์ เดิมมีชื่อว่า “วัดพรหมมินทร์” ตั้งตามชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่านได้โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2139 หลังจากที่เจ้าเจตบุตรขึ้นครองนครน่านได้ 6 ปีนี้ ต่อมาชื่อวัดถูกเรียกกันจนเพี้ยนไป จนกลายเป็น “วัดภูมินทร์” ตามที่รู้จักกันในปัจจุบัน
อาจารย์ วินัย ปราบริปู ศิลปินสายเลือดน่าน ได้แสดงความเห็นไว้ว่า ศิลปินผู้เขียนภาพที่วัดภูมินทร์เป็นศิลปินคนเดียวกับผู้เขียนภาพที่วัดหนองบัว ที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน "หนานบัวผัน" หรือ ทิดบัวผัน ช่างวาด ชาวไทลื้อ เนื่องจากภาพจิตรกรรมวัดภูมินทร์กับวัดหนองบัวมีโครงสร้างสีเดียวกัน คือ แม่สีแดง น้ำเงิน เหลืองเป็นหลัก และมีภาพที่คล้ายคลึงกันถึงกว่า 40 จุด เช่น ใบหน้าคน การแต่งกาย สรรพสัตว์ ทั้งไก่แจ้ นก ลิง กวาง แม้กระทั่งแนวการลากเส้นสายพุ่มไม้และกอ สับปะรด ก็ยังเป็นแบบเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการ ค้นพบภาพร่างด้วยหมึกบนกระดาษสาพับ (ชาวล้านนาเรียก ปั๊บสา) ระบุว่าเป็น ของ "หนานบัวผัน" ใช้ร่างก่อนภาพจริงลงบนฝาผนัง ซึ่งมีหลายภาพ อาทิ ภาพอี โรติกของลิงหนุ่มสาว เป็นภาพร่างใน "ปั๊บสา" พบที่วัดหนองบัว แล้วมีภาพนี้ไป ปรากฎที่ฝาผนังวัดภูมินทร์ด้วย
คำกลอนภาษาคำเมือง ที่แต่งขึ้นมาสำหรับภาพนี้ ว่าไว้ว่า…
"กำฮักน้องกูปี้จั๊กเอาไว้ในน้ำก็กั๋วหนาว
จั๊กเอาไว้ปื้นอากาศกลางหาว
ก็กั๋วหมอกเหมยซ่อนดาวลงมาขะลุ้ม
จั๊กเอาไปใส่ในวังข่วงคุ้ม
ก็กั๋วเจ้าปะใส่แล้วลู่เอาไป
ก็เลยเอาไว้ในอกในใจ๋ตัวจายปี้นี้
จั๊กหื้อมันไห้ อะฮิ อะฮี้
ยามปี้นอนสะดุ้งตื่นเววา"
คำแปล “ความรักของน้องนั้น พี่จะเอาฝากไว้ในน้ำก็กลัวเหน็บหนาว จะฝากไว้กลางท้องฟ้าอากาศกลางหาว ก็กลัวเมฆหมอกมาปกคลุมรักของพี่ไปเสีย หากเอาไว้ในวังในคุ้ม เจ้าเมืองมาเจอก็จะเอาความรักของพี่ไป เลยขอฝากเอาไว้ในอกในใจของพี่ จะให้มันร้องไห้รำพี้รำพันถึงน้อง ไม่ว่ายามพี่นอนหลับหรือสะดุ้งตื่น”
เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามแบบล้านนา ซึ่งเป็นพระอุโบสถทรงจตุรมุข และพระประธานเป็นแบบจตุรพักตร์ ที่ทางกรมศิลปากรได้สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย ก็ได้เคยอยู่บนธนบัตรราคา 1 บาท ซึ่งเป็นธนบัตรในแบบ 5 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2485 ด้านหน้าเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของรัชกาลที่ 8 และมีโบสถ์วัดภูมินทร์อยู่ทางด้านซ้ายของธนบัตร
การเดินทาง : วัดภูมินทร์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ ณ ตำบลในเวียง ภายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดน่าน ใกล้กับวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
ขอขอบคุณแหล่งข้อมลูจาก uncledeng.com
รถเช่าน่านราคาถูก ขอแนะนำรถเช่าน่าน nanfahcarrent.com